Difference between revisions of "ทฤษฎีการพยาบาลไนติงเกล"

From learnnshare
Jump to: navigation, search
(สิ่งแวดล้อม)
(สิ่งแวดล้อมทางสังคม (Social environment))
 
Line 75: Line 75:
 
  <tr>
 
  <tr>
 
     <td valign="top" ><div align="justify" style=" width:1024px;">
 
     <td valign="top" ><div align="justify" style=" width:1024px;">
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;เป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่อยู่ในชุมชนมีอิทธิพลต่อการป้องกันการเกิดโรค และส่งเสริมกระบวนการหาย เช่นเดียวกัน ไนติงเกลไม่ได้มุ่งเน้นสิ่งแวดล้อมภายในโรงพยาบาลเท่านั้นแต่ยังมองไปถึงบ้านและสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ เธอกล่าวว่า การรักษาสุขอนามัยภายในบ้านที่สำคัญ 5 ประการ คือ อากาศที่บริสุทธ์ น้ำสะอาด มีการระบายของเสียที่ดี มีแสงสว่างพอเพียง และความสะอาดทั่วๆไป
+
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;เป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่อยู่ในชุมชนมีอิทธิพลต่อการป้องกันการเกิดโรค และส่งเสริมกระบวนการหาย เช่นเดียวกัน ไนติงเกลไม่ได้มุ่งเน้นสิ่งแวดล้อมภายในโรงพยาบาลเท่านั้นแต่ยังมองไปถึงบ้านและสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ เธอกล่าวว่า การรักษาสุขอนามัยภายในบ้านที่สำคัญ 5 ประการ คือ อากาศที่บริสุทธ์ น้ำสะอาด มีการระบายของเสียที่ดี มีแสงสว่างพอเพียง และความสะอาดทั่วๆไป<br>
 +
[[File:Nurse5.jpg|150px|thumb|left|สิ่งแวดล้อมทางสังคม (Social environment)]]
 
</div></td>
 
</div></td>
<td>[[File:Nurse5.jpg|150px|thumb|left|สิ่งแวดล้อมทางสังคม (Social environment)]]</td>
+
 
 
   </tr>  
 
   </tr>  
 
</table>
 
</table>

Latest revision as of 08:00, 26 April 2016

ทฤษฎีการพยาบาลไนติงเกล

ดร.สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

    ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (คศ. 1820-1910) ผู้ให้กำเนิดวิชาชีพการพยาบาล เกิดในตระกูลชั้นสูงที่มั่งคั่งของประเทศอังกฤษ ในวัยเยาว์ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล มีความสนใจในการช่วยเหลือบุคคลอื่นที่มีความทุกข์

    เมื่อโตขึ้นเธอจึงเป็นคนเคร่งศาสนาและมีความเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้ให้เธอมาช่วยเหลือคนอื่นเพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่ของมนุษยชาติ แม้ว่าครอบครัวไม่ต้องการให้เธอเป็นพยาบาล เพราะก่อนหน้านี้พยาบาลไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม ผู้ที่เข้ามาทำงานด้านนี้จะเป็นผู้ที่ไม่มีงานทำและนักโทษ คนยากจน ผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นคนยากจนที่ได้รับความทุกข์ทรมานเนื่องจากสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่เกิดจากโรคหลังจากที่ไนติงเกลได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการพยาบาลใหม่ ทำให้ภาพลักษณ์ของพยาบาลดีขึ้นเธอได้รับชื่อเสียงจากการอุทิศตนดูแลทหารที่เจ็บป่วยระหว่างสงครามไครเมีย โดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยแม้ในยามวิกาล จนได้ชื่อว่า “The lady with the lamp”

    ไนติงเกลเป็นผู้นำด้านทฤษฎีการพยาบาล ได้เขียนหนังสือเรื่อง “Notes on Nursing” ซึ่งกล่าวถึง กฎของการพยาบาล (Laws of Nursing) ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ของ บุคคล สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการพยาบาล โดยเน้นกิจกรรมที่มุ่งปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเพื่อดำรงไว้ซึ่งการมีภาวะสุขภาพดีของบุคคลปกติหรือบรรเทาความทุกข์ทรมานของบุคคลที่เจ็บป่วย

    มโนทัศน์หลักทั้ง 4 ในทฤษฎีการพยาบาลของไนติงเกล มีดังนี้

Nurse1.png

มโนทัศน์หลักทั้ง 4 ในทฤษฎีการพยาบาลของไนติงเกล

บุคคล

มโนทัศน์หลักทั้ง 4 ในทฤษฎีการพยาบาลของไนติงเกล

    บุคคลตามความเชื่อของไนติงเกล ประกอบด้วย ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคมและวิญญาณ บุคคลทุกคนมีความทัดเทียมกัน ต่างกันที่ชีวสาร ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อและโรคที่เป็นอยู่ ไนติงเกล เน้นด้านร่างกายผู้ป่วยและกล่าวถึงด้านจิตใจด้วยเช่น กระบวนการคิด อัตมโนทัศน์ ความรู้สึกและสติปัญญา

    ไนติงเกลกล่าวว่า บุคคลที่เจ็บป่วยจะมีกระบวนการหายที่เกิดตามธรรมชาติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนหรือส่งเสริมจากองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อม กิจกรรมของพยาบาล การรักษาทางยาและการผ่าตัดโดยธรรมชาติ บุคคลจะมีศักยภาพและความรับผิดชอบต่อกระบวนการหายที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานของบุคคลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมทั้งส่งเสริมสุขภาพของบุคคลและชุมชนโดยรวม

สิ่งแวดล้อม

    เป็นมโนทัศน์ที่เป็นหัวใจของทฤษฎีการพยาบาลนี้ โดยไนติงเกลกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพมากกว่าสิ่งแวดล้อมทางจิตสังคม ทั้งนี้เนื่องจาก สิ่งแวดล้อมทางกายภาพในยุคนั้น(ช่วงต้นศตวรรษที่ 19) ได้รับความเสียหายมากจากสงคราม โรงพยาบาลขาดสุขาภิบาลเต็มไปด้วยความสกปรก ทหารนอนตายเกลื่อนกลาด การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมจึงเป็นความจำเป็นอันดับแรกที่จะช่วยให้ทหารที่เจ็บป่วยมีชีวิตรอด

    สิ่งแวดล้อมตามแนวคิดของไนติงเกล หมายถึง สภาวการณ์ต่างๆที่อยู่ภายนอกตัวบุคคล ซึ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตและพัฒนาการของบุคคล ที่สำคัญสิ่งแวดล้อมสามารถยับยั้งหรือป้องกันการเกิดโรคได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถแพร่กระจายโรค ทำให้เกิดโรคหรือถึงแก่ความตายได้

    ไนติงเกลแบ่งสิ่งแวดล้อมเป็น 3 ชนิด คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางจิตใจ และสิ่งแวดล้อมทางสังคม สิ่งแวดล้อมทั้ง 3 ชนิดนี้จะมีความเกี่ยวเนื่องกันและมีอิทธิพลโดยตรงต่อสุขภาพหรือกระบวนการหายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

    สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical environment) ประกอบด้วย ความสะอาด การระบายอากาศ อากาศบริสุทธิ์ แสงสว่าง น้ำ การระบายของเสีย อาหาร เตียง และความอบอุ่น ความสะอาดจะเป็นพื้นฐานของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่กล่าวแล้วทั้งหมด

    ไนติงเกลให้ความสำคัญกับการระบายอากาศที่ดีเป็นอันดับแรก ได้แก่ อากาศบริสุทธิ์ ปราศจากฝุ่นละออง รองลงมาคือ แสงสว่างโดยเฉพาะแสงอาทิตย์ ส่วนความอบอุ่น กลิ่น เสียง และอื่นๆ เป็นสิ่งที่ให้ความสนใจเช่นเดียวกัน เพื่อสร้างเสริมบรรยากาศของสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น

    สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีสุขภาพดีช่วยป้องกันการเกิดโรคและส่งเสริมกระบวนการหายตามธรรมชาติ ได้แก่ ความสะอาดทั่วไป การระบายอากาศที่ดี อากาศและน้ำบริสุทธิ์ แสงสว่างที่พอเพียง เสียงที่พอเหมาะ และความอบอุ่น ส่วนสิ่งแวดล้อมที่ขัดขวางต่อการมีสุขภาพดีทำให้เกิดโรค หรือเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการหายตามธรรมชาติ ได้แก่ ความสกปรก ฝุ่นละออง ความมืดทึบ ความอับชื้น กลิ่นเหม็น และความหนาวเหน็บ

Nurse3.jpg

สิ่งแวดล้อมทางจิตใจ (Psychological environment)

สิ่งแวดล้อมทางจิตใจ

    ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิตใจเป็นสิ่งที่ยอมรับกันอย่างดีในสมัยของไนติงเกล อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางร่างกายที่มีผลต่อสภาพจิตใจของบุคคล นั่นคือ หากสิ่งแวดล้อมด้านร่างกายไม่เหมาะสม จะกระทบต่ออารมณ์ของคน โดยบุคคลจะเกิดความเครียด เบื่อหน่าย ซึ่งเป็นผลร้ายต่อสภาพจิตใจ ดังนั้นบุคคลที่เจ็บป่วยจึงต้องการการดูแลด้านจิตใจจากสิ่งแวดล้อมด้วย อย่างไรก็ตามองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมอาจก่อให้เกิดผลทั้งด้านบวกและด้านลบต่อจิตใจผู้ป่วยด้วย เช่น การจัดอาหารที่อุ่นและน่ารับประทาน การมีภาพข้างฝาผนังที่ให้ความสดชื่น เป็นต้น

สิ่งแวดล้อมทางสังคม (Social environment)

    เป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่อยู่ในชุมชนมีอิทธิพลต่อการป้องกันการเกิดโรค และส่งเสริมกระบวนการหาย เช่นเดียวกัน ไนติงเกลไม่ได้มุ่งเน้นสิ่งแวดล้อมภายในโรงพยาบาลเท่านั้นแต่ยังมองไปถึงบ้านและสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ เธอกล่าวว่า การรักษาสุขอนามัยภายในบ้านที่สำคัญ 5 ประการ คือ อากาศที่บริสุทธ์ น้ำสะอาด มีการระบายของเสียที่ดี มีแสงสว่างพอเพียง และความสะอาดทั่วๆไป

สิ่งแวดล้อมทางสังคม (Social environment)

สุขภาพ

    ภาวะสุขภาพเป็นผลจากปฏิสัมพันธ์ของบุคคลกับสิ่งแวดล้อมทั้งด้านกายภาพ ด้านจิตใจ และด้านสังคม การมีสุขภาพดีไม่ได้หมายถึงไม่เกิดโรคเท่านั้น แต่ยังต้องสามารถใช้พลังงานที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันให้ได้ ส่วนการเจ็บป่วยจะมีกระบวนการซ่อมแซมที่เกิดตามธรรมชาติตามมา เพื่อแก้ไขปัญหาและช่วยให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาวะปกติ

Nurse6.jpg

การพยาบาล

    ไนติงเกล กล่าวถึง การพยาบาลว่าเป็นหน้าที่ของสตรีที่ดูแลสุขภาพของบุคคล ทั้งในภาวะปกติหรือระหว่างการเจ็บป่วย โดยไนติงเกลแบ่งการพยาบาลออกเป็น 2 ประเภท คือการพยาบาลในภาวะสุขภาพดี (health nursing) และในภาวะเจ็บป่วย (sick nursing)

     การพยาบาลในภาวะสุขภาพดี เป็นศิลปะการพยาบาลที่สตรีทุกคนควรปฏิบัติได้ เพราะเป็นกิจกรรมธรรมชาติที่ทุกคนควรรู้ เพื่อการป้องกันโรคและดำรงไว้ซึ่งการมีสุขภาพดี ผู้ทำหน้าที่พยาบาลต้องเข้าใจกฎแห่งชีวิตและกฎแห่งสุขภาพอย่างถ่องแท้ กิจกรรมการพยาบาลมุ่งเน้นการสอนและแนะนำให้บุคคลเห็นความสำคัญของการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพดี ทั้งในด้านการสุขาภิบาลและสุขอนามัยภายในที่อยู่อาศัยและในชุมชน

     การพยาบาลในภาวะเจ็บป่วย เป็นศาสตร์และศิลปะในการปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือบุคคลที่เจ็บป่วยให้พ้นจากทุกข์ทรมาน จึงต้องมีความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ สถิติ สุขาภิบาลและตรรกศาสตร์ การบริหาร การสาธารณสุข กฎแห่งสุขภาพ และกฎแห่งการเจ็บป่วยและอาการและอาการแสดงของโรค เป้าหมายของการพยาบาล คือ การจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดเพื่อให้ธรรมชาติได้ช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างเต็มที่ กิจกรรมการพยาบาลจึงเป็นการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมกระบวนการหายที่เกิดตามธรรมชาติ สิ่งสำคัญที่สุดคือ พยาบาลต้องมีทักษะการสังเกต ไวต่อการเปลี่ยนแปลงอาการของผู้ป่วยแม้เพียงเล็กน้อย ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และการฝึกฝน ไนติงเกลกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างการพยาบาลกับการแพทย์ว่า แพทย์เกี่ยวข้องกับการบำบัดโรคและความเจ็บป่วย ในขณะที่พยาบาลเกี่ยวข้องกับบุคคลที่เจ็บป่วย

ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์หลัก

    กล่าวคือ สิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพของบุคคล การพยาบาลมีบทบาทในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อให้การเจ็บป่วยทุเลาลงหรือเพื่อการมีสุขภาพดี

    การประยุกต์ทฤษฏีการพยาบาลของไนติงเกลกับกระบวนการแก้ปัญหา

ขั้นที่ 1 การประเมินสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบหรือมีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพ

    เริ่มจากการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวบุคคล ทั้งด้านกายภาพและด้านจิตใจ การสัมภาษณ์และการสัมผัสร่างกายรวมทั้งการดมกลิ่นเพื่อประกอบการพิจารณาว่า สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นมีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยหรือไม่ เช่น

    การประเมินสิ่งแวดล้อมในสังคมของบุคคล (บ้านและชุมชน)

    ก.การประเมินสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ 1) การถ่ายเทอากาศภายในบ้านดีหรือไม่ 2) ความสะอาดภายในบ้านเป็นอย่างไร 3) น้ำใช้เป็นอย่างไร สะอาดเพียงพอแก่การบริโภคหรือไม่ 4) ท่อระบายของเสียถูกสุขลักษณะหรือไม่ 5) มีกลิ่นเหม็นทำให้อากาศไม่บริสุทธ์หรือไม่ 6) มีเสียงรบกวนหรือไม่

   ข.ภาวะสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชน ได้แก่ 1) ภาวะสุขภาพของบุคคลและครอบครัวเป็นอย่างไร 2) ในชุมชนมีโรคอะไรบ้างที่เกิดชุกชุม โรคเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในชุมชนหรือไม่

    ค.การประเมินสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยในโรงพยาบาล

    1.สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ การถ่ายเทอากาศ อุณหภูมิภายในห้องผู้ป่วย สิ่งแวดล้อมรอบๆตัวผู้ป่วย (สะอาด เป็นระเบียบ ดูสบายตาหรือไม่ เช่น ผ้าปูที่นอน หมอน ร่างกายผู้ป่วย ฯลฯ) มีกลิ่นรบกวน มีเสียงรบกวนหรือไม่ ท่านอนส่งเสริมการระบายอากาศหรือไม่ อาหารจัดไว้เพียงพอหรือไม่ น่ารับประทานหรือไม่

   2.สิ่งแวดล้อมด้านจิตใจ ได้แก่ การรับรู้ของผู้ป่วยต่อการอยู่โรงพยาบาล ภายในห้องผู้ป่วยมีรูปภาพหรือแจกันหรือไม่ มีการผลัดเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้อย่างไร เตียงของผู้ป่วยไกลจากหน้าต่างเพียงไร ได้เห็นทิวทัศน์หรือแสงแดดส่องถึงหรือไม่ ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือผุ้ป่วยข้างเตียงหรือไม่ มีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลินหรือไม่ ญาติมีความเข้าใจต่ออาการผู้ป่วยอย่างไร

ขั้นที่ 2 การระบุปัญหา

    ขั้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จาการประเมินในขั้นที่ 1 เพื่อให้ได้ปัญหาภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเช่น 1) มีแนวโน้มจะเจ็บป่วยในระบบทางเดินหายใจเนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี 2) พักผ่อนไม่ได้เนื่องจากอากาศร้อนอบอ้าว 3) มีภาวะเครียดเนื่องจากช่วยเหลือตนเองได้น้อย

ขั้นที่ 3 การวางแผนการแก้ปัญหา

    เป็นการกำหนดกิจกรรมการพยาบาลเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพ โดยการจัดหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ได้สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อปัญหานั้นๆ ขึ้นอยู่กับ ตัวปัญหา สาเหตุของปัญหา

ขั้นที่ 4 การปฏิบัติกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา

    เป็นการนำแผนการแก้ไขปัญหาไปปฏิบัติโดยการจัดสิ่งแวดล้อมให้มีความเหมาะสมกับระยะของโรคและอาการของผู้ป่วย

ขั้นที่ 5 การประเมินผล

    เป็นการประเมินสุขภาพของบุคคลหลังจากที่ได้ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมแล้ว ว่าบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่

สรุป

    สรุปกล่าวได้ว่า ทฤษฏีการพยาบาลของไนติงเกล สามารถใช้ได้ในปัจจุบัน จึงมีความทันสมัยและประยุกต์ใช้ได้ทั้งในโรงพยาบาล ครอบครัวและชุมชน ทฤษฏีของไนติงเกล มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทฤษฏีอื่นๆ เช่นทฤษฏีการปรับตัว ทฤษฏีความต้องการ และทฤษฏีความเครียด การประยุกต์ใช้กับกระบวนการแก้ปัญหา เน้นการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพของบุคคล กิจกรรมการพยาบาลจะเป็นการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมต่อปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย นอกจากนี้ทฤษฏีของไนติงเกลยังเป็นรากฐานของทฤษฎีการพยาบาลอื่นๆอีกด้วย

บรรณานุกรม

จันทร์เพ็ญ สันตวาจา อภิญญา เพียรพิจารณ์ รัตนาภรณ์ ศิริวัฒน์ชัยพร. (2554). แนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎีและกระบวนการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

เรณู สอนเครือ. (บรรณ) (2553). แนวคิดพื้นฐานและหลักการพยาบาล เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: ยุทธรินทร์การพิมพ์.

วิจิตรา กุสุมภ์ และคณะ. (2555). ประเด็นและแนวโน้มวิชาชีพการพยาบาล. กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย์.



สร้างโดย: Aekachai.m (talk) 14:47, 26 April 2016 (UTC)