Difference between revisions of "โรคท้องร่วง"
Rung-arun.k (Talk | contribs) |
Rung-arun.k (Talk | contribs) (→อาการของโรคท้องร่วง) |
||
Line 18: | Line 18: | ||
1. ชนิดเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการอย่างเฉียบพลันทันที และเป็นอยู่วันสองวันหรือ อย่างมากไม่เกิน 1 สัปดาห์ มักเกิดจากการกินอาหารที่มีเชื้อโรคหรือสารพิษปนเปื้อน หรือจากการกินยาถ่าย ยาระบาย ยาลดกรด ยาปฏิชีวนะบางชนิด ในเด็กทารกมักเกิดจากการเตรียม ขวดนมไม่สะอาด | 1. ชนิดเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการอย่างเฉียบพลันทันที และเป็นอยู่วันสองวันหรือ อย่างมากไม่เกิน 1 สัปดาห์ มักเกิดจากการกินอาหารที่มีเชื้อโรคหรือสารพิษปนเปื้อน หรือจากการกินยาถ่าย ยาระบาย ยาลดกรด ยาปฏิชีวนะบางชนิด ในเด็กทารกมักเกิดจากการเตรียม ขวดนมไม่สะอาด | ||
2. ชนิดเรื้อรัง ผู้ป่วยมักมีอาการอุจจาระร่วงแบบเป็นๆหายๆ อาจนานนับเดือนนับปี ส่วนใหญ่ไม่มีสาเหตุร้ายแรง อาจเกิดจากธาตุอ่อนซึ่งพบได้บ่อย หรืออาจเกิดจากติดเชื้อ เช่น เป็น วัณโรคลำไส้ เกิดจากเชื้อพยาธิ หรือเกิดจากการเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น เบาหวาน คอพอก เป็นพิษ รวมทั้งอาจเกิดจากเป็นโรคมะเร็งลำไส้ | 2. ชนิดเรื้อรัง ผู้ป่วยมักมีอาการอุจจาระร่วงแบบเป็นๆหายๆ อาจนานนับเดือนนับปี ส่วนใหญ่ไม่มีสาเหตุร้ายแรง อาจเกิดจากธาตุอ่อนซึ่งพบได้บ่อย หรืออาจเกิดจากติดเชื้อ เช่น เป็น วัณโรคลำไส้ เกิดจากเชื้อพยาธิ หรือเกิดจากการเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น เบาหวาน คอพอก เป็นพิษ รวมทั้งอาจเกิดจากเป็นโรคมะเร็งลำไส้ | ||
− | |||
==การตรวจหาเชื่อและวินิจฉัยโรค== | ==การตรวจหาเชื่อและวินิจฉัยโรค== |
Revision as of 09:43, 24 March 2016
Contents
โรคท้องร่วง
หมายถึงการที่ถ่ายอุจาระเหลว หรือเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งต่อวันหรือถ่ายเหลวมีเลือดปนเพียง 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมงโดยทั่วไปอาการท้องร่วงมักหายได้เองใน 2-3 วันโดยที่ไม่ต้องรักษา ถ้าเป็นนานกว่านั้นต้องมีปัญหาอื่น ท้องร่วงทำให้เกิดผลเสียคือร่างกายขาดน้ำ ซึ่งถ้าเป็นมากอาจจะอันตรายถึงกับเสียชีวิตได้
สาเหตุ
สาเหตุที่พบบ่อยๆ คือ *การติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด ได้แก่เชื้อ บิดไม่มีตัว Shigella,ไข้ไทฟอยด์ Salmonella,เป็นต้น *การติดเชื้อไวรัส ได้แก่ rotavirus, Norwalk virus *การติดเชื้อพยาธิ์ เช่น Giardia lamblia, Entamoeba histolytica *จากแพ้อาหาร และนม *จากยา เช่น ยาลดความดัน ยาปฏิชีวนะ ยาระบาย *โรคลำไส้มีการอักเสบ
อาการของโรคท้องร่วง
ลักษณะอาการโดยทั่วไปของโรคอุจจาระร่วงคือ ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำติดต่อกันหลายครั้ง ปวดท้อง อ่อนเพลีย บางคนอาจมีไข้และมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ในรายที่ถ่ายอุจจาระติดต่อกันมากๆ ร่างกายอาจแสดงอาการขาดน้ำ กล่าวคือ รู้สึกกระหายน้ำจัด เป็นตะคริว เสียงแห้ง แก้มตอบ ผิวหนังเหี่ยวย่น ตัวเย็น ชีพจรเบา ความดันเลือดต่ำ อาจมีอาการช็อค และหมดสติได้ อาจแบ่งอาการเป็น 2 ชนิดคือ
1. ชนิดเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการอย่างเฉียบพลันทันที และเป็นอยู่วันสองวันหรือ อย่างมากไม่เกิน 1 สัปดาห์ มักเกิดจากการกินอาหารที่มีเชื้อโรคหรือสารพิษปนเปื้อน หรือจากการกินยาถ่าย ยาระบาย ยาลดกรด ยาปฏิชีวนะบางชนิด ในเด็กทารกมักเกิดจากการเตรียม ขวดนมไม่สะอาด 2. ชนิดเรื้อรัง ผู้ป่วยมักมีอาการอุจจาระร่วงแบบเป็นๆหายๆ อาจนานนับเดือนนับปี ส่วนใหญ่ไม่มีสาเหตุร้ายแรง อาจเกิดจากธาตุอ่อนซึ่งพบได้บ่อย หรืออาจเกิดจากติดเชื้อ เช่น เป็น วัณโรคลำไส้ เกิดจากเชื้อพยาธิ หรือเกิดจากการเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น เบาหวาน คอพอก เป็นพิษ รวมทั้งอาจเกิดจากเป็นโรคมะเร็งลำไส้
การตรวจหาเชื่อและวินิจฉัยโรค
โดยดูจากอาการ การตรวจอุจจาระ ฯ
การรักษาพยาบาล
ถ้าอาการไม่มากอาจให้ผู้ป่วยกินยาสามัญประจำบ้าน งดอาหาร ที่ย่อยยาก ที่มีรสจัด และมีกาก ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำสุกหรือน้ำสะอาด ดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่ที่เรียก ย่อๆว่า โอ อาร์ เอส (O.R.S.) หรือ Oral Rehydration Salt ซึงมีจำหน่ายในท้องตลาด หรือ อาจทำชื้นเอง โดยให้มีส่วนผสมของเกลือป่นครึ่งช้อนชา น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ ผสมในน้ำต้มสุก 0.5 ลิตร ดื่มเพื่อช่วยทดแทนการเสียน้ำ น้ำตาลและเกลือแร่ในร่างกายจากการขับถ่าย การใช้ยา เช่น ยากินแก้อุจจาระร่วง ควรปรึกษาแพทย์
โรคแทรกซ้อน
หากผู้ป่วยมีอาการไข้ตัวร้อนหลายวัน อาจมีสาเหตุจากไข้ไทฟอยด์ ไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย หรือโรคติดเชื้ออื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์
โรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายโรคอุจจาระร่วง
ได้แก่โรคบิด โรคอาหารเป็นพิษ และโรคติดเชื้อทางเดินอาหารอื่นๆ เช่น อหิวาตกโรค
การปฏิบัติตนเมื่อเป็น หรือสงสัยว่าป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วง
นอกจากการไปพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับผู้ป่วย ด้วยโรคติดต่อ ดังกล่าวรายละเอียดไว้ในบทนำ แล้ว ยังมีข้อควรทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติเฉพาะโรคเพิ่มเติม ดังนี้
1. ควรฟักผ่อนให้มากๆ เพราะร่างกาย เพลีย ดื่มผงเกลือแร่ หากอ่อนเพลียหรือถ่ายมาก กินอาหารที่ย่อยง่ายเมื่ออาการทุเลา ถ่ายอุจจาระลงส้วมที่ถูกสุขลักษณะและระวังในการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น 2. หากอาการไม่ทุเลาหรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์
การป้องกันและควบคุมโรค
นอกจากปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยงและ ป้องกันการรับเชื้อหรือภาวะที่ทำให้เกิดโรค ดังกล่าวรายละเอียดไว้ในบทนำแล้ว ยังมีข้อควรทราบเติมเฉพาะโรค ดังนี้
1. รับประทานอาหารที่สุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำต้มสุก หรือน้ำสะอาด 2. ในเด็กทารกที่ดื่มนมจากขวด ควรต้มขวดนมทุกครั้งที่มีการเตรียมนมในเด็ก 3. ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร หรือประกอบอาหาร
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
Rung-arun.k (talk) 09:23, 24 March 2016 (UTC)