Difference between revisions of "โรคท้องร่วง"

From learnnshare
Jump to: navigation, search
m (Rung-arun.k moved page Aor1 to โรคท้องร่วง)
 
(One intermediate revision by the same user not shown)
Line 18: Line 18:
 
       1.    ชนิดเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการอย่างเฉียบพลันทันที และเป็นอยู่วันสองวันหรือ อย่างมากไม่เกิน 1 สัปดาห์ มักเกิดจากการกินอาหารที่มีเชื้อโรคหรือสารพิษปนเปื้อน หรือจากการกินยาถ่าย ยาระบาย ยาลดกรด ยาปฏิชีวนะบางชนิด ในเด็กทารกมักเกิดจากการเตรียม ขวดนมไม่สะอาด
 
       1.    ชนิดเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการอย่างเฉียบพลันทันที และเป็นอยู่วันสองวันหรือ อย่างมากไม่เกิน 1 สัปดาห์ มักเกิดจากการกินอาหารที่มีเชื้อโรคหรือสารพิษปนเปื้อน หรือจากการกินยาถ่าย ยาระบาย ยาลดกรด ยาปฏิชีวนะบางชนิด ในเด็กทารกมักเกิดจากการเตรียม ขวดนมไม่สะอาด
 
       2.    ชนิดเรื้อรัง ผู้ป่วยมักมีอาการอุจจาระร่วงแบบเป็นๆหายๆ อาจนานนับเดือนนับปี ส่วนใหญ่ไม่มีสาเหตุร้ายแรง อาจเกิดจากธาตุอ่อนซึ่งพบได้บ่อย หรืออาจเกิดจากติดเชื้อ เช่น เป็น วัณโรคลำไส้ เกิดจากเชื้อพยาธิ หรือเกิดจากการเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น เบาหวาน คอพอก เป็นพิษ รวมทั้งอาจเกิดจากเป็นโรคมะเร็งลำไส้
 
       2.    ชนิดเรื้อรัง ผู้ป่วยมักมีอาการอุจจาระร่วงแบบเป็นๆหายๆ อาจนานนับเดือนนับปี ส่วนใหญ่ไม่มีสาเหตุร้ายแรง อาจเกิดจากธาตุอ่อนซึ่งพบได้บ่อย หรืออาจเกิดจากติดเชื้อ เช่น เป็น วัณโรคลำไส้ เกิดจากเชื้อพยาธิ หรือเกิดจากการเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น เบาหวาน คอพอก เป็นพิษ รวมทั้งอาจเกิดจากเป็นโรคมะเร็งลำไส้
 
  
 
==การตรวจหาเชื่อและวินิจฉัยโรค==
 
==การตรวจหาเชื่อและวินิจฉัยโรค==

Latest revision as of 03:02, 25 March 2016

โรคท้องร่วง

หมายถึงการที่ถ่ายอุจาระเหลว หรือเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งต่อวันหรือถ่ายเหลวมีเลือดปนเพียง 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมงโดยทั่วไปอาการท้องร่วงมักหายได้เองใน 2-3 วันโดยที่ไม่ต้องรักษา ถ้าเป็นนานกว่านั้นต้องมีปัญหาอื่น ท้องร่วงทำให้เกิดผลเสียคือร่างกายขาดน้ำ ซึ่งถ้าเป็นมากอาจจะอันตรายถึงกับเสียชีวิตได้

สาเหตุ

สาเหตุที่พบบ่อยๆ คือ *การติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด ได้แก่เชื้อ บิดไม่มีตัว Shigella,ไข้ไทฟอยด์ Salmonella,เป็นต้น *การติดเชื้อไวรัส ได้แก่ rotavirus, Norwalk virus *การติดเชื้อพยาธิ์ เช่น Giardia lamblia, Entamoeba histolytica *จากแพ้อาหาร และนม *จากยา เช่น ยาลดความดัน ยาปฏิชีวนะ ยาระบาย *โรคลำไส้มีการอักเสบ

อาการของโรคท้องร่วง

ลักษณะอาการโดยทั่วไปของโรคอุจจาระร่วงคือ ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำติดต่อกันหลายครั้ง ปวดท้อง อ่อนเพลีย บางคนอาจมีไข้และมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ในรายที่ถ่ายอุจจาระติดต่อกันมากๆ ร่างกายอาจแสดงอาการขาดน้ำ กล่าวคือ รู้สึกกระหายน้ำจัด เป็นตะคริว เสียงแห้ง แก้มตอบ ผิวหนังเหี่ยวย่น ตัวเย็น ชีพจรเบา ความดันเลือดต่ำ อาจมีอาการช็อค และหมดสติได้ อาจแบ่งอาการเป็น 2 ชนิดคือ

      1.    ชนิดเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการอย่างเฉียบพลันทันที และเป็นอยู่วันสองวันหรือ อย่างมากไม่เกิน 1 สัปดาห์ มักเกิดจากการกินอาหารที่มีเชื้อโรคหรือสารพิษปนเปื้อน หรือจากการกินยาถ่าย ยาระบาย ยาลดกรด ยาปฏิชีวนะบางชนิด ในเด็กทารกมักเกิดจากการเตรียม ขวดนมไม่สะอาด
      2.    ชนิดเรื้อรัง ผู้ป่วยมักมีอาการอุจจาระร่วงแบบเป็นๆหายๆ อาจนานนับเดือนนับปี ส่วนใหญ่ไม่มีสาเหตุร้ายแรง อาจเกิดจากธาตุอ่อนซึ่งพบได้บ่อย หรืออาจเกิดจากติดเชื้อ เช่น เป็น วัณโรคลำไส้ เกิดจากเชื้อพยาธิ หรือเกิดจากการเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น เบาหวาน คอพอก เป็นพิษ รวมทั้งอาจเกิดจากเป็นโรคมะเร็งลำไส้

การตรวจหาเชื่อและวินิจฉัยโรค

โดยดูจากอาการ การตรวจอุจจาระ ฯ

การรักษาพยาบาล

ถ้าอาการไม่มากอาจให้ผู้ป่วยกินยาสามัญประจำบ้าน งดอาหาร ที่ย่อยยาก ที่มีรสจัด และมีกาก ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำสุกหรือน้ำสะอาด ดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่ที่เรียก ย่อๆว่า โอ อาร์ เอส (O.R.S.) หรือ Oral Rehydration Salt ซึงมีจำหน่ายในท้องตลาด หรือ อาจทำชื้นเอง โดยให้มีส่วนผสมของเกลือป่นครึ่งช้อนชา น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ ผสมในน้ำต้มสุก 0.5 ลิตร ดื่มเพื่อช่วยทดแทนการเสียน้ำ น้ำตาลและเกลือแร่ในร่างกายจากการขับถ่าย การใช้ยา เช่น ยากินแก้อุจจาระร่วง ควรปรึกษาแพทย์


โรคแทรกซ้อน

หากผู้ป่วยมีอาการไข้ตัวร้อนหลายวัน อาจมีสาเหตุจากไข้ไทฟอยด์ ไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย หรือโรคติดเชื้ออื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์

โรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายโรคอุจจาระร่วง

ได้แก่โรคบิด โรคอาหารเป็นพิษ และโรคติดเชื้อทางเดินอาหารอื่นๆ เช่น อหิวาตกโรค

การปฏิบัติตนเมื่อเป็น หรือสงสัยว่าป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วง

นอกจากการไปพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับผู้ป่วย ด้วยโรคติดต่อ ดังกล่าวรายละเอียดไว้ในบทนำ แล้ว ยังมีข้อควรทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติเฉพาะโรคเพิ่มเติม ดังนี้

       1.    ควรฟักผ่อนให้มากๆ เพราะร่างกาย เพลีย ดื่มผงเกลือแร่ หากอ่อนเพลียหรือถ่ายมาก กินอาหารที่ย่อยง่ายเมื่ออาการทุเลา ถ่ายอุจจาระลงส้วมที่ถูกสุขลักษณะและระวังในการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
       2.    หากอาการไม่ทุเลาหรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์

การป้องกันและควบคุมโรค

นอกจากปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยงและ ป้องกันการรับเชื้อหรือภาวะที่ทำให้เกิดโรค ดังกล่าวรายละเอียดไว้ในบทนำแล้ว ยังมีข้อควรทราบเติมเฉพาะโรค ดังนี้

       1.    รับประทานอาหารที่สุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำต้มสุก หรือน้ำสะอาด
       2.    ในเด็กทารกที่ดื่มนมจากขวด ควรต้มขวดนมทุกครั้งที่มีการเตรียมนมในเด็ก
       3.    ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร หรือประกอบอาหาร
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

Rung-arun.k (talk) 09:23, 24 March 2016 (UTC)